มาตรการคว่ำบาตรจะส่งผลกระทบต่อน้ำมันของรัสเซียอย่างไร?
รัสเซียเป็นหนึ่งในผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของโลก ด้วยการผลิตประมาณ10 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งส่งออกน้ำมันดิบโดยตรงจำนวน 5 ล้านบาร์เรลต่อวัน และผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมอยู่ที่ประมาณ 3 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในทางกลับกัน ประเทศในสหภาพยุโรปนำเข้าน้ำมันดิบประมาณ 2.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน และผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมประมาณ 1.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน ส่วนที่เหลือของน้ำมันถูกนำเข้าโดยจีน อินเดีย ประเทศในเอเชียอื่น ๆ และบางประเทศในอเมริกาใต้ จากตัวเลขดังกล่าวอาจดูเหมือนไม่มากนักถ้าเทียบในบริบทของตลาดน้ำมันทั่วโลก ซึ่งมีมูลค่า 100 ล้านบาร์เรลต่อวัน (ก่อนเกิดโรคระบาด) อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการเชื่อมต่อด้านการขนส่งและความสมดุลของตลาดน้ำมันปัจจุบัน หากอุปทานน้ำมันที่ลดลง 5 ล้านบาร์เรลต่อวันก็อาจส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อราคาน้ำมัน
เหตุใดการส่งออกของรัสเซียจึงอาจหายไป
กรณีนี้เปรียบเหมือนเหรียญสองด้าน การโจมตีของรัสเซียต่อยูเครนถูกวิพากษ์วิจารณ์จากคนเกือบทั้งโลก และมีการดำเนินมาตรการคว่ำบาตรต่อรัสเซียจากประเภทต่างๆ ซึ่งในทางทฤษฎีรัสเซียสามารถปิดก๊อกน้ำมันหรือก๊าซไปยังยุโรปได้ แต่สถานการณ์นี้ไม่น่าจะเกิดขึ้น ยุโรปเป็นลูกค้ารายใหญ่ที่สุดของตลาดน้ำมันรัสเซียด้วยการส่งออก "ทองคำดำ" เมื่อปีที่แล้วมีมูลค่าทั้งหมดกว่า 100 พันล้านดอลลาร์
อย่างไรก็ตาม ชาติตะวันตกอาจตัดสินใจเลือกการดำเนินคำสั่งห้ามการส่งออก ประกาศแคนาดาระงับการนำเข้าน้ำมันและผลิตภัณฑ์จากรัสเซีย สหราชอาณาจักรห้ามมิให้เรือรัสเซียและเรือบรรทุกน้ำมันของประเทศนี้เทียบท่า ส่วนยุโรปต้องพึ่งพาน้ำมันของรัสเซีย นั้นหมายความว่าภูมิภาคนี้กำลังให้เงินสนับสนุนรัฐบาลปูตินสูงถึง 350 ล้านยูโรต่อวัน ยูเครนเรียกร้องให้มีมาตรการคว่ำบาตรต่อตลาดน้ำมันและก๊าซของรัสเซีย แม้ว่าจะทราบกันดีว่าการดำเนินการดังกล่าวทำไปได้ยากมาก ตามข้อมูลที่บันทึกไว้ 80% ของการนำเข้าน้ำมันของฟินแลนด์มาจากรัสเซีย สำหรับโปแลนด์ เกือบ 60% สำหรับสโลวาเกียมากกว่า 70% เยอรมนีและเนเธอร์แลนด์คิดเป็น 30% และ 23% ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ประเทศเหล่านี้ถูกเข้าใจว่าเป็นผู้นำเข้าน้ำมันของรัสเซียรายใหญ่ที่สุดในยุโรป
น้ำมันของรัสเซียอาจจะหายไปจริง ๆ และทำให้ตลาดเกิดความไม่มั่นคงหรือไม่?
ในขณะนี้ การส่งออกน้ำมันไปยังประเทศในสหภาพยุโรปผ่านดินแดนเบลารุสมีความเสี่ยงมากที่สุด ทุกวันมีการส่งน้ำมันประมาณ 750,000 บาร์เรลผ่านท่อส่งน้ำมัน Druzhba ในทางกลับกัน 250,000 บาร์เรลต่อวันส่งผ่านยูเครนไปยังสาธารณรัฐเช็ก สโลวาเกีย และฮังการี รัสเซียจะประสบปัญหาในการขนส่งน้ำมันทางทะเล แต่ในปี 2019 การนำเข้าต้องหยุดชะงักเป็นเวลาหลายเดือนเนื่องจากปัญหาทางเทคนิค รัสเซียมีเรือบรรทุกน้ำมันขนาดใหญ่กว่า 100 ลำ และมีกองเรือบรรทุกน้ำมันมากกว่า 2,000 ลำทั่วโลก Maersk ปฏิเสธที่จะขนส่งน้ำมันของรัสเซียอยู่แล้ว และราคาตลาดน้ำมันรัสเซียในทะเลบอลติกเพิ่มขึ้นหลายเท่าจากประมาณ 30,000 เหรียญสหรัฐต่อวันเป็น 200,000 เหรียญสหรัฐต่อวัน อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการต่างประเทศไม่เต็มใจที่จะซื้อน้ำมันของรัสเซีย แม้จะได้ส่วนลด 20 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลเมื่อเทียบกับน้ำมันดิบเบรนท์เพราะกังวลใจเกี่ยวกับมาตรการคว่ำบาตรที่อาจเกิดขึ้น
จีนนำเข้าน้ำมันจากรัสเซียประมาณ 1.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยปริมาณครึ่งหนึ่งนำเข้าผ่านท่อส่งน้ำมัน EPO ที่มีประสิทธิภาพในการทำงานอย่างสูง อย่างไรก็ตาม จีนเคยเป็นประเทศที่ได้รับประโยชน์จากการเทขายน้ำมันจากประเทศที่ถูกคว่ำบาตร เช่น อิหร่านและเวเนซุเอลา โดยถึงตอนนี้ จีนยังนำเข้าน้ำมันจากอิหร่านมากกว่า 700,000 บาร์เรลต่อวัน แม้ว่าจะมีการคว่ำบาตรจากสหรัฐฯ อย่างต่อเนื่องก็ตาม
ตามทฤษฎีแล้ว รัสเซียสามารถจัดส่งน้ำมันมากกว่าไปยังจีน อินเดีย ไทย หรือแม้แต่คิวบาเวเนซุเอลา อย่างไรก็ตาม การดำเนินดังกล่าวจะไม่สามารถทดแทนการนำเข้าทั้งหมดของยุโรปได้ เป็นมูลค่าการกล่าวขวัญว่าน้ำมันรัสเซียไหลไปยังยุโรปแม้ในช่วงสูงสุดของสงครามเย็น การส่งออกไปยังเยอรมนีหยุดลงเมื่อการต่อสู้กับโซเวียตเริ่มขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองเท่านั้น
กลุ่มประเทศตะวันตกมีตัวเลือกอะไรบ้าง?
ในกรณีนี้ อาจมีหลายทางเลือกที่สามารถคืนเสถียรภาพในตลาดน้ำมันได้เช่น:
ราคาน้ำมันจะปรับขี้นถึงที่ 150 ดอลลาร์หรือ 200 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลได้หรือไม่?
วิทยานิพนธ์ดังกล่าวถูกเสนอโดยธนาคาร Saxo และธนาคารอเมริกา Bloomberg ชี้ให้เห็นถึงความสนใจที่เพิ่มขึ้นสำหรับตัวเลือกในระดับเหล่านี้ ถึงแม้ว่าจะยังค่อนข้างถูกในขณะนี้ รัสเซียมีบทบาทที่สำคัญในตลาด แต่โลกสามารถจัดการได้โดยปราศจากรัสเซีย และเหตุการณ์ล่าสุดในยูเครนได้แสดงให้เห็นว่านี่เป็นทางเลือกที่ถูกต้องในการปฏิบัติตาม
สถานการณ์ปัจจุบันแตกต่างจากปี 2008 อุปทานสามารถเพิ่มขึ้นได้ แต่ในขณะเดียวกัน ปัญหาชั่วคราวกับการขนส่งอาจทำให้ราคาเพิ่มขึ้นจากระดับปัจจุบัน เป็นไปได้ว่าราคาจะเพิ่มขึ้นเหนือ 120 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล และอาจถึงระดับ 150 ดอลลาร์ ในทางกลับกัน ระดับเหล่านี้อาจทำให้อุปสงค์ลดลงโดยสิ้นเชิง เช่นเดียวกับในปี 2008 และเริ่มเกิดวิกฤตที่รุนแรงอีกครั้งในตลาดโลก
ทั้งสองฝ่าย แม้แต่ผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ที่สุด ก็ไม่อยากจะขึ้นราคา เป็นเรื่องยากที่จะคาดหวังว่าความขัดแย้งจะลดระดับลงในอนาคตอันใกล้นี้ แต่ราคาที่สูงนั้นส่วนใหญ่เป็นผลจากความกังวลเกี่ยวกับการระงับอุปทานจากรัสเซีย แม้ว่าผู้ประกอบการในตลาดจำนวนมากต้องการซื้อน้ำมันจากแหล่งอื่นแต่การนำเข้าน้ำมันจากรัสเซียยังคงเป็นทางเลือกที่นิยม อย่างไรก็ตาม หากสถานการณ์เลวร้ายที่สุดไม่เกิดขึ้น อุปทานส่วนเกินในตลาดน้ำมันในปีนี้อาจช่วยให้เกิดเสถียรภาพด้านราคา
การเทรด CFDs บนพื้นฐานของเลเวอเรจนั้นมีความเสี่ยงสูง อาจไม่เหมาะสำหรับทุกคน ดังนั้น กรุณาตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณได้ทำความเข้าใจในความเสี่ยงทั้งหมดนั้นแล้ว